ตากาฉ่อ / -

ประวัติการค้นพบ: ตั้งชื่อครั้งแรกโดย Heinrich Gustav Reichenbach (1824-1889) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ลงในวารสาร Bonplandia ฉบับที่ 2 ในปี 1854 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก เจริญทางยอด รากขนาดใหญ่เกาะติดต้น แบนยาว ต้นสั้น มีใบเพียง 2-3 ใบ ใบ รูปรีหรือขอบขนาน สีเขียวเข้มเป็นมัน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 9.5-13 ซม. ขอบใบหยักเป็นคลื่น ช่อดอก สีเขียว ออกที่ข้างลำต้น ห้อยลงหรืออยู่ในเเนวระนาบ ยาว 6-12 ซม. ดอกในช่อทยอยบานจากโคนสู่ปลายช่อ ดอก กว้าง 1.4 ซม. ดอกสีขาว โคนกลีบมีจุดสีม่วง กลีบเลี้ยงบน รูปขอบขนาน ชี้ขึ้น กว้าง 0.25 ซม. ยาว 0.7 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้าง ขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย กลีบดอก รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 0.25 ซม. ยาว 0.65 ซม. กลีบปาก ยาว 0.9 ซม. ส่วนโคนคล้ายถุง หูกลีบปากขนาดใหญ่ ชี้ขึ้นคล้ายรูปไข่กลับ สีขาว พาดด้วยเส้นสีม่วง ที่โคนของหูกลีบเเต่ละข้างมีสันนูนสีขาว ปลายกลีบปากชี้ไปข้างหน้า คล้ายรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายสุดสีขาว ตรงกลางหยักลึก โคนเเต้มด้วยสีม่วง ตรงฐานของปลายกลีบปากมีกลุ่มเนื้อเยื่อนูนสีขาวคล้ายสันและมีส่วนของเนื้อเยื่อแหลม คล้ายเขี้ยว 2 อัน เพิ่มเข้ามา เส้าเกสรยาว 0.4 ซม. ฝาครอบกลุ่มอับเรณูสีขาว [1] นิเวศวิทยา: กล้วยไม้อิงอาศัย บางครั้งเจริญบนดิน พบในป่าดิบเเล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ตามที่ร่มเงาหรือที่มีเเสงเเดดรำไร [1] การกระจายพันธุ์: จีน อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เกาะบอร์เนียว เกาะชวา หมู่เกาะมาลูกู ฟิลิปปินส์ เกาะซูลาเวซี เกาะสุมาตรา [2] ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] การศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์กล้วยไม้ป่า ในอุทยานแห่งชาติทางบกภาคใต้ตอนบน https://www.npic-surat.com/web/images/stories/document/research56/orchin1/9pon3.pdf [2] https://www.orchidspecies.com/phaldeliciosa.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Phalaenopsis deliciosa Rchb. f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง